ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
➤ ในการจัดการศึกษาของไทยควรนำหลักสูตรประเภทใดมาใช้ด้วยเหตุผลใดเป็นสำคัญ
✤ ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างหลักสูตรการศึกษาไทยมี 3 ส่วน คือ การกำหนดจุดประสงค์
เป็นสิ่งคาดหวังในระดับโรงเรียนและสามารถวัดได้ แบ่งเป็น 3 ด้าน
ได้แก่ ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย
เกณฑ์การเลือกเนื้อหาเน้นความเป็นประโยชน์ ความสนใจของผู้เรียน
และการพัฒนาการของมนุษย์
ด้านการพัฒนาหลักสูตรโดยเฉพาะกระบวนการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ได้แก่
พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและด้านสังคม
การจัดการศึกษาไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จัดเป็น 2 รูปแบบ คือ
การจัดการแบบโบราณกับการจัดการศึกษาแบบใหม่หรือการจัดการศึกษาแบบปัจจุบัน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 15
ได้กำหนดการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ ได้แก่
การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
✵ หลักสูตรแฝง (Hidden
Curriculum)
บันทึกจากการเรียนรู้นอกชั้นเรียน
✤ การศึกษาเรียนรู้วันนี้คือ การศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรแฝง
ซึ่งจากนิยามหลักสูตรซึ่งมีมากมายหลายนิยาม แต่มีจุดร่วมกันประการหนึ่ง คือ “เป็นรูปธรรม” มีความน่าสนใจมากสำหรับรูปแบบหนึ่งของหลักสูตรที่ใครหลายคนอาจยังไม่ได้รู้จัก
แต่เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายดายจากการศึกษาต่อไปนี้
✤ หลักสูตรต่างๆยังไม่อาจสรุปประเด็นได้ชัดเจนทั้งหมด
ทุกหลักสูตรยังมีสิ่งแอบแฝงอยู่ซึ่งเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นหลักสูตรแฝง ซึ่งหมายความว่า
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้ล่วงหน้า
การจะทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับหลักสูตรแฝงทำได้ไม่ง่ายนัก
แต่ก็อาจจะมองเห็นได้จากพลังที่มีอยู่ในโรงเรียน และส่งผลต่อการยอมรับของโรงเรียน
ของเขตพื้นที่ และของชุมชน กระบวนการทางสังคม ซึ่งอาจเกิดจากโรงเรียน ชุมชน
มักจะส่งผลให้เกิดหลักสูตรแฝง
ธรรมชาติของหลักสูตรแฝงมักจะไม่ค่อยมีการเปิดเผยหรือมีผู้เอาใจใส่มากนัก
อาจเป็นวิธีการในการสอนนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางสังคม ค่านิยม
การดำเนินชีวิตซึ่งสั่งสมมาจนทำให้เป็นความคาดหวังหรือปฏิบัติเป็นประจำมาก่อนเป็นเวลานาน
ข้อเสียประการหนึ่งของหลักสูตรแฝง คือ
การเกิดความเดียดฉันท์ต่อนักเรียนในด้านวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ เชื้อชาติวิธีการขจัดปัญหาด้านนี้ คือ
โรงเรียนจะต้องวิเคราะห์สภาพทั่วๆ ไปของโรงเรียนให้ถ่องแท้
✤ โดยทั่วไปโรงเรียนจะประสบความสำเร็จมากในการสอนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย
และทักษะพิสัย
ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีการสอนและการประเมินผลที่จัดให้เกิดความสอดคล้องกันได้ง่ายและกระทำได้ง่าย
แต่โรงเรียนจะมีปัญหาในการสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านจิตพิสัยซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิต
อารมณ์และการกระทำที่สอดคล้องกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นเรื่องของการสอน
เจตคติ ค่านิยม และความประพฤติที่พึงประสงค์
เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยการบรรยาย
หรือการใช้คำพูดสั่งสอน เพราะโดยธรรมชาติและหลักข้อเท็จจริง เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ใช้คำพูดสั่งสอน เพราะโดยธรรมชาติและหลักข้อเท็จจริง
เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากตัวอย่างและการกระทำของผู้ใหญ่และผู้อยู่ใกล้ชิดมากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น