วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ค้นคว้าเพิ่มเติมจากบทที่ 3 ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร



ค้นคว้าเพิ่มเติมจากบทที่ 3
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร

1.อัตราการว่างงาน หมายถึง
การว่างงาน หมายถึง การที่บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ไม่ได้ทำงานใดๆ และพร้อมที่จะทำงาน แต่ไม่สามารถหางานทำได้ หรือเจ็บป่วย หรือรองานใหม่ บุคคลที่พร้อมที่จะทำงาน แต่ไม่สามารถหางานทำงาน คือ การว่างงานไม่สมัครใจ (involuntary unemployment)

           อัตราการว่างงาน =   จำนวนแรงงานที่ว่างงาน  100
                                                    กำลังแรงงาน

สาเหตุของการว่างงาน
            (1) การว่างงานตามปกติในตลาดแรงงาน คือ การว่างงานในระยะสั้น ที่เกดจากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน หรืออยู่ในกระบวนการรอรับเข้าทำงานในสถานประกอบการ
            (2) การว่างงานเนื่องจากโครงสร้าง คือการว่างงานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น เทคโนโลยี รสนิยมของผู้บริโภค ฯลฯ
            (3) การว่างงานจากวัฏจักร คือ การว่างงานที่เป็นไปตามวัฏจักร เศรษฐกิจ ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย การจ้างงานจะลดลง ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จะมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และทำให้อัตราการว่างงานนั้นลดลง


2.ไกลปืนเที่ยง หมายถึง
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542  “ไกลปืนเที่ยง” หมายความว่า (สํา) ว.
ไม่รู้อะไรเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ”
ไกลปืนเที่ยง หมายถึง พื้นที่ที่อยู่ห่างไกลความเจริญทำให้ไม่ได้รับรู้ข่าวสาร เรื่องราวต่างๆ เช่น
  • รัฐบาลและองค์กรภาคเอกชนระดมทุนกันช่วยเหลือ และให้ทุนการศึกษา กับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ไกลปืนเที่ยง เพื่อให้มาตรฐานการศึกษานั้นใกล้เคียงกับนักเรียนที่อยู่ในเมืองใหญ่
  • จากเหตุการณ์พายุโหมกระหน่ำสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ไกลปืนเที่ยงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่กันดาร ห่างไกลจากตัวเมือง การเดินทางยากลำบาก ทำให้เป็นอุปสรรค์แก่การที่เจ้าหน้าที่จะเข้าช่วยเหลือ

3.การเสริมสร้างจิตสาธารณะในเด็ก
          การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมด้านจิตสาธารณะกับบุคคลต่างๆ ให้มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคมหรือสาธารณะ จะเป็นการสร้างพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม ให้เกิดขึ้นกับบุคคล โดยทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน รวมทั้ง ประชาชนทั่วไป สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจาก ภายในกายของคน  “จิตสาธารณะ” เป็นความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้ผู้คนรู้จัก การ เสียสละ การร่วมแรงร่วมใจร่วมมือในการทำประโยชน์เพื่อสังคมและส่วนรวม อีกทั้งจะช่วยลด ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคม การช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต อันจะเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต เป็นการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขกับสังคมอย่างได้ผลเป็นเชิงประจักษ์ได้ ดังนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 หมวด 1 บททั่วไปที่ว่าด้วยความมุ่งหมายและหลักการ มาตราที่ 7 ได้แสดงถึงความพยายามที่จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคน ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ว่า ในกระบวนการเรียนรู้ต้อง มุ่งปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศ์รีความเป็นมนุษย์มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้รักษา ผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติรวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
          วัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ปีเป็นระยะที่สำคัญ ที่สุดของการพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์จิตใจ สังคม และบุคลิกภาพ เป็นวัย ที่เรียกว่าช่วงแห่งพลังการเจริญเติบโตงอกงามสำหรับชีวิต แนวความคิดเหล่านี้เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากการมองเด็กในทัศนะของการที่เด็กมีพัฒนาการด้านต่างๆ แตกต่างจากเด็กวัยอื่นๆ ในช่วงชีวิตของความเป็นมนุษย์ดังนั้นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสำหรับเยาวชน เป็นแนวทางที่หลากหลายเน้นกระบวนการของการ จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ภายใต้เงื่อนไขปฏิรูปการศึกษาพัฒนา คุณภาพสื่อ ร่วมมือกันทำงาน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้อย่างหนึ่งของเยาวชน สรุปว่าการสร้างจิตสาธารณะ มี 4 ขั้นตอน คือ
1.      ปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของจิตสาธารณะ ซึ่งเกิดจากการที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กจากครอบครัวและสถานศึกษาและสร้างจิตสำนึกโดยผ่านกิจกรรมที่ให้การช่วยเหลือและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
2.      การเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายจิตใจ ด้านความรู้และการติดต่อสื่อสาร การที่บุคคลจะเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการต่างของสถานศึกษาหรือการให้บริการในชุมชน ความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น การยิ้มแย้ม ทักทาย การทำงานเป็นทีมร่วมกัน เป็นปัจจัยสำคัญ
3.      การสร้างความเชื่อมั่นในตน การจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองที่เกิดจิตสาธารณะของตนเองควรมีกิจกรรมที่เป็นการช่วยเหลือและทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในการทำความดี การช่วยเหลือผู้อื่น โดยเริ่มจากงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น การช่วยถือของ การช่วยผู้ปกครองทำกิจกรรมต่างๆ ที่บ้าน เป็นต้น
4.      การเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์ต่อการพัฒนาด้านจิตสาธารณะ คือ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทำให้ได้รับการพัฒนาให้เป็นคนเก่ง คนดีและใช้ชีวิตอย่างมี ความสุขและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
ในภาพรวมประเทศต้องพยายามสร้างให้ประชาชนเป็น คนดี  ที่เก่ง รอบรู้ มีสุขภาพดี คนดี คือคนที่เห็นแก่ส่วนรวม มีจิตอาสา มีเหตุผล อยากช่วยผู้อื่น ฯลฯ การจะเป็นคนดีได้ต้องมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก โดยบิดา มารดา ครู สังคม ฯลฯ ให้มีการสอนเรื่องจิตอาสา การทำประโยชน์ให้ส่วนรวมในทุกโรงเรียน ในสังคม ชุมชน เพื่อปลุกระดมจิตวิญญาณอาสาสมัครให้เกิดขึ้นในสังคมไทยในวงกว้างอย่างยั่งยืน ทั้งในและนอกระบบ ต้องมีบุคคลตัวอย่างที่ดี เช่น บิดา มารดา ครู ผู้นำประเทศ นักกีฬา นักดนตรี นักแสดง ฯลฯ มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมจิตอาสาดีๆ ต่างๆ ให้ประชาชน เด็ก เยาวชนเห็น เช่น เมื่อมีการรณรงค์การบริจาคโลหิต อวัยวะ การไปทำความสะอาดวัด ชุมชน สร้างห้องสมุด ทาสีโรงเรียน ฯลฯ ทางสื่อมวลชน วิทยุ หนังสือพิมพ์ ทีวี ฯลฯ ตลอดเวลา มีการยกย่อง ให้รางวัล แก่ผู้มีจิตอาสา เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงการมีจิตอาสา กระทำความดี ซึมซับเข้าไปในสมอง รวมทั้งความสุขที่เกิดขึ้นต่อทั้งผู้ให้และผู้รับ


4.ปัญหาของวัยรุ่นในสังคมไทย
ปัจจุบันปัญหาของวัยรุ่นในสังคมไทยรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น  เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านกายภาพ  เศรษฐกิจและสังคมเมือง  ประกอบกับวัยรุ่นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเจริญเติบโตมีความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย  จิตใจ  และอารมณ์  ทำให้วัยรุ่นประสบปัญหามากมาย  เช่น  ปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการทำแท้ง  ปัญหาโรคเอดส์  ปัญหาความรุนแรง  เป็นต้น   ทั้งนี้ปัญหาที่สำคัญของวัยรุ่นในปัจจุบัน  ได้แก่  ปัญหายาเสพติด  ปัญหาที่เกิดจากการขาดความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย  และปัญหาความรุนแรง  ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากปัญหาครอบครัว  สภาพแวดล้อมใกล้ตัวที่ชักจูงไปในทางไม่ดี   และการใช้ความรุนแรงในสังคม

ผลกระทบของปัญหาที่ศึกษาต่อสังคม
1.      ปัญหาเรื่องของการต่อต้านผู้ใหญ่ อันนี้เป็นเรื่องตามวัยวัยรุ่นด้วย ไม่ค่อยเชื่อฟังในสิ่งที่ผู้ปกครองบอก ส่วนใหญ่จะเชื่อเพื่อนและไปตามเพื่อน อารมณ์ความรุนแรงของวัยรุ่นทำให้เกิดผลกระทบและปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย
2.      ปัญหาทางด้านการเรียน การใช้สมอง สติ ปัญญา ในการเรียนจะลดน้อยลง เนื่องจากเด็กวัยรุ่นบางคนเที่ยวกลางคืน และไม่มีเวลาสำหรับพักผ่อน ความคิดก็ไม่ไปกับสิ่งที่กำลังเรียนอยู่ ทำให้จิตใจเหม่อลอย ไม่มีสติในการเรียน ทำให้มีผลผลกระทบต่ออนาคตของวัยรุ่น
3.      การมีรักในวัยเรียนของวัยรุ่น วัยรุ่นบางคนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การทำแท้ง การติดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์
4.      ปัญหาการติดยาเสพติด การเริ่มเข้าไปใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นยังเป็นเรื่องของความ”อยากลอง” ความเป็นวัยรุ่นของเขาทำให้เขาอยากลองในสิ่งแปลกใหม่ ร่วมกับอีกปัญหาหนึ่งคือการ “ตามเพื่อน” ปัจจุบันมีเด็กบางคนหันเข้าไปหายาเสพติด เพียงเพราะรู้สึกว่า ใครๆ เขาก็ทำกัน เป็นเรื่องธรรมดา ไม่เห็นจะแปลกอะไร ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด กลายไปเป็นเหยื่อของสารเสพติด และเป็นปัญหาของสังคมที่ยังแก้ไม่หาย

  
5.เทคโนโลยีในการศึกษา
ความหมายของเทคโนโลยี
                เทคโนโลยี  หมายถึง  การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีทางการศึกษา
 เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน แก้ไขปัญหา และพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความหมายไม่เพียงแต่เป็นวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมหมายถึงวิทยาศาสตร์ทางจิตวิทยา และศาสตร์ในการบริหารงานครอบคลุมทั้งด้านบริหารวิชาการและบริการ ดังนั้นในการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพในการศึกษา จึงครอบคลุม 3 ด้าน คือ
1. เครื่องมืออุปกรณ์การสอนต่าง ๆ (Devices หรือHardware) เป็นการนำอุปกรณ์มาใช้ในการศึกษา
2. วัสดุ (Materials หรือ Solfware) เป็นการผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ การนำเอาวัสดุการสอนมาใช้ตลอดจนการผลิตบทเรียนสำเร็จรูปในแบบต่าง
3. วิธีการและเทคนิค (Methods and Techniques) ได้แก่ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ประยุกต์มาใช้ในการศึกษา การนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษานั้นจะยึดหลักการทั่วไปเหมือนการนำเทคโนโลยีไปใช้ในสาขาวิชาการอื่น ๆ คือ
ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายความว่า เมื่อนำเอาเทคโนโลยีมาใช้แล้วทำให้เกิดการเรียนรู้ตามที่วางจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมไว้ในแผนการสอน
ประสิทธิผล (Productivity) หลังจบกระบวนการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
ประหยัด (Economy) การที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ต้องตระหนักถึงข้อนี้ในการเรียนการสอนถ้ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดก็ย่อมถือว่าสามารถบริหารจัดการเกินคุ้มค่า

ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ

ข้อดี
          เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้มากขึ้น ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ต่างๆได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการโดยไม่จำกัดประเภทของผู้เรียน นั้นหมายความว่า แม้ไม่มีมีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายก็สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้เท่าเทียมกับผู้ที่มีความพร้อมทุกๆด้าน การใช้เทคโนโลยีไม่จำเป็นต้องเน้นที่อินเตอร์เน็ตเสมอแต่ยังรวมถึงการใช้พจนานุกรมแบบพกพาที่มีหน้าตาคล้ายๆกับ Ipad ก็ได้ นอกจากนี้ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตเป็นของทุกๆชนชั้น บุคคลในสังคมมีสิทธิ์ที่จะใช้เทคโนโลยีได้เท่าเทียมกัน

ข้อเสีย
          ถึงแม้เทคโนโลยีจะอำนวยความสะดวกให้แก่การศึกษา แต่ในพื้นที่ที่มีอุปสรรคมักจะมีข้อจำกัดกับผู้เรียนในการใช้คอมพิวเตอร์เนื่องจากสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม นักเรียนมีข้อจำกัดเพราะไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ ต้องรอการใช้งานจากที่โรงเรียนเท่านั้นแต่โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลก็มีคอมพิวเตอร์จำนวนจำกัดและไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ทำให้เวลาการใช้งานถูกจำกัด เช่น ใช้วันละ 1 ครั้งหรือสัปดาห์ละครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นท้องถิ่นที่ยากจนก็ไม่มีสิทธิ์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเลย นอกจากข้อจำกัดทางด้านพื้นที่แล้ว การใช้เทคโนโลยีทำให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการเข้าสังคมและการปฏิสัมพันธ์ลดลง ผู้เรียนสามารถคุยกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์ได้อย่างสนิทสนมผ่าน Instant Messaging  แต่ทำตัวห่างเหินกับบุคคลรอบข้างหรือไม่สามารถเข้ากับบุคคลใกล้ชิดกับตัวผู้เรียนได้ แม้ว่าเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพให้การศึกษาดีขึ้นกว่าสมัยก่อนแต่ไม่สามารถแทนที่ความใกล้ชิดของมนุษย์ได้ ดังนั้น คุณภาพของการศึกษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีเสมอไปแต่ต้องพิจารณาที่คุณภาพของอาจารย์ด้วย


6. สถานประกอบการ
สถานประกอบการเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้นักศึกษาสหกิจศึกษาสามารถพัฒนาทักษะต่างๆ รวมถึงองค์ความรู้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งสถานประกอบการจะต้องมีความพร้อมในด้านของบุคลากร นโยบาย งบประมาณ สวัสดิการ ทรัพยากร ฯลฯ และที่สำคัญต้องมีตำแหน่งงานที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาด้วย
ประโยชน์ที่สถานประกอบการได้รับ
1. เกิดความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือทางวิชาการกับสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้านของการส่งเสริมสนับสนุนทางการศึกษา
2. ระบบสหกิจศึกษาเป็นวิธีการที่ช่วยคัดเลือกให้สถานประกอบการมีนักศึกษาช่วยงานและเป็นพนักงานประจำองค์กรต่อไปในอนาคต ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน
3. พนักงานประจำมีนักศึกษาช่วยงาน และสามารถทำงานที่สำคัญได้มากขึ้น
4. สถานประกอบการได้อาจารย์ที่มีคุณภาพเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ
5. สถานประกอบการได้นักศึกษาที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ
6. สถานประกอบการที่รับนักศึกษาสหกิจศึกษาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยตรง (หักค่าใช้จ่าย 2 เท่า) ภายใต้กฏหมายได้แก่
6.1. มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
6.2. มาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 (ซึ่งออกเพื่อรองรับมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545) ซึ่งได้แก่ค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
- ค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุ
- ค่าตอบแทนที่จ่ายให้แก่นักศึกษาสหกิจศึกษาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ไม่ตํ่ากว่าครึ่งหนึ่งของอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าสูงสุด
- ค่าสวัสดิการ เช่น เงินรางวัล ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทางระหว่างจังหวัดค่าเครื่องแบบ เป็นต้น ทั้งต้องระบุรายการเหล่านี้ไว้ในแบบเสนองานสหกิจศึกษา (สก.ค 01)
- ค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและไม่รวมกับที่ใช้ในการประกอบกิจการปกติของสถานประกอบการโดยจะต้องระบุรายการ จำนวนและราคาของวัสดุอุปกรณ์นั้นให้ชัดเจน
- ค่าวิทยากรภายนอกที่จ้างมาเฉพาะเพื่อฝึกอบรมนักศึกษาสหกิจศึกษาและนอกจากนั้นสถานประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์จากทางภาษี (หักค่าใช้จ่าย 2 เท่า) ด้วยการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถานประกอบการของรัฐภายใต้กฏหมาย 2 ฉบับ ได้แก่
1. พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547
2. พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 476) พ.ศ. 2551



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น