ค้นคว้าเพิ่มเติมจากบทที่ 2
ทฤษฎีหลักสูตร
➤ 1.พิสูจน์ หมายถึง
➤ 2.การทดลอง หมายถึง
การทดลองเป็นวิธีดำเนินการอย่างมีระเบียบเพื่อพิสูจน์ยืนยัน
หักล้างหรือสร้างความสมเหตุสมผลของสมมุติฐาน การทดลองที่มีการควบคุมทำให้ได้วิจารณญาณในเหตุภาพโดยการแสดงว่าผลลัพธ์ใดจะเกิดขึ้นหากเปลี่ยนแปลงปัจจัยหนึ่ง ๆ
การทดลองที่มีการควบคุมแปรผันอย่างมากตามเป้าหมายและขนาด
แต่ล้วนอาศัยวิธีดำเนินการที่ทำซ้ำได้และการวิเคราะห์ผลลัพธ์เชิงตรรกะเสมอ
➤ 3.ทฤษฎีหลักสูตร หมายถึง
● ความหมายของหลักสูตร
หลักสูตร (Curriculum) หมายถึง มวลประสบการณ์ที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญ กิจกรรมต่างๆที่ออกแบบขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมาย
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้พัฒนาตนเองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
● ความหมายของทฤษฎี
ทฤษฎี (Theory) หมายถึง หลักการที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว
และกำหนดขึ้นมาเพื่อจะได้ทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
● ความหมายของทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory) หมายถึง
ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตรโดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆชี้นำแนวทางการพัฒนาการใช้และการประเมินผลหลักสูตรประกอบกัน
➤ 4.ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร หมายถึง
การออกแบบหลักสูตร หมายถึง
การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่ง ได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ
กิจกรรมการเรียน และการประเมินผล
Taba มีความเห็นว่าส่วนประกอบของหลักสูตรจะขาดเสียมิได้ก็คือจุดมุ่งหมายทั่วไป
และจุดมุ่งหมายเฉพาะเนื้อหาสาระ ประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล
Zais ได้สรุปว่าการออกแบบหลักสูตรประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร
2 แบบ คือ หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น คือ
มีความเชื่อว่าคนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ 4 ประการ
ได้แก่ ความมีเหตุผล ข้อมูลเชิงประจักษ์สัญชาตญาณและความเชื่อจากสิ่งที่มีอำนาจ
ส่วนหลักสูตรมนุษยนิยมจะมุ่งเน้นเนื้อหาสาระมากกว่ากระบวนการจัดหลักสูตรจึงยึดเนื้อหาสาระของวิชาเป็นศูนย์กลาง
➤ 5. องค์ประกอบของหลักสูตร หมายถึง
องค์ประกอบของหลักสูตร (Curriculum
Component)
องค์ประกอบของหลักสูตรทำให้ผู้ใช้หลักสูตรทราบแนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้ได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร
พอสรุปจากแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของหลักสูตร ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (Curriculum Aims)
หมายถึง ความตั้งใจหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้ที่จะผ่านหลักสูตร
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความสำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดทิศทางและขอบเขตใน
การให้การศึกษาแก่ผู้เรียน
2. เนื้อหา (Content)
หมายถึง เนื้อหาประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนา
ไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยดำเนินการตั้งแต่การเลือกเนื้อหาและประสบการณ์
การเรียงลำดับเนื้อหาสาระ พร้อมทั้งการกำหนดเวลาเรียนที่เหมะสม
3. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)
หมายถึง การนำหลักสูตรไปสู่การปฏิวัติ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ
(การจัดทำวัสดุหลักสูตร ได้แก่ คู่มือครู เอกสารหลักสูตร แผนการสอน และแบบเรียน ฯลฯ)
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (Curriculum Aims)
หมายถึง ความตั้งใจหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้ที่จะผ่านหลักสูตร
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความสำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดทิศทางและขอบเขตใน
การให้การศึกษาแก่ผู้เรียน
2. เนื้อหา (Content)
หมายถึง เนื้อหาประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนา
ไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยดำเนินการตั้งแต่การเลือกเนื้อหาและประสบการณ์
การเรียงลำดับเนื้อหาสาระ พร้อมทั้งการกำหนดเวลาเรียนที่เหมะสม
3. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)
หมายถึง การนำหลักสูตรไปสู่การปฏิวัติ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ
(การจัดทำวัสดุหลักสูตร ได้แก่ คู่มือครู เอกสารหลักสูตร แผนการสอน และแบบเรียน ฯลฯ)
การจัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและสิ่งแวดล้อม (การจัดโต๊ะเก้าอี้
ห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ในการเรียน
จำนวนครูและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ), การดำเนินการสอน
4. การประเมินผลหลักสูตร (Evaluation)
หมายถึง การหาคำตอบว่า หลักสูตรสัมฤทธิผลตามที่กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายหรือ
ไม่มากน้อยเพียงใดและอะไรเป็นสาเหตุ
4. การประเมินผลหลักสูตร (Evaluation)
หมายถึง การหาคำตอบว่า หลักสูตรสัมฤทธิผลตามที่กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายหรือ
ไม่มากน้อยเพียงใดและอะไรเป็นสาเหตุ
➤ 6.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) หมายถึง
ทิศนา แขมมณี (2550 : 50 -
76) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมไว้ว่า
กลุ่มพุทธินิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด
นักคิดกลุ่มนี้ เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด
ทฤษฎีกลุ่มนี้ที่สำคัญมี 5 ทฤษฎี คือ
ทฤษฎีเกสตัสท์ (Gestalt Theory) ทฤษฎีสนาม (Field
Theory)ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
(Intellectual Development Theory)ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
(A Theory of Meaningful Verbal Learning)
1. ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory) แนวความคิดหลักของทฤษฏีนี้คือ ส่วนร่วมมิใช่เป็นเพียงผลรวมของส่วนย่อย
ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มากกว่าผลรวมของส่วนย่อย การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิดจาประสบการณ์เดิม
และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ
1. การรับรู้
(Perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด
2. การหยั่งเห็น
(Insight) เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที
2 ทฤษฎีสนาม (Field Theory) เคร์ทเลวิน (Kurt Lewin) เป็นผู้ริเริ่มทฤษฏีนี้
คำว่า “field” มาจากแนวคิดเรื่อง "field of
force" พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตนจะมีพลังเป็น
+ สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจ จะมีพลังงานเป็น – ในขณะหนึ่งคนทุกคนจะมี “โลก” หรือ
“อวกาศ” ของตน การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ทอลแมน (Tolman) กล่าวว่า
“การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง” ในการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล และในขณะที่ผู้เรียนพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการผู้เรียนรู้จะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย
สัญลักษณ์ สถานที่ และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางตามไปด้วย
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Humanism)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กกว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร
เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา
ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น
พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ
ไม่ควรที่เร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง
เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า
สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตามเพียเจย์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ บรุนเนอร์(Bruner)เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์
บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง(discovery
learning)แนวคิดที่สำคัญๆของบรุนเนอร์มีดังนี้(Brunner,1963:1-54)การจัดโครงสร้างของความรูให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน
และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ การคิดแบบหยั่งรู้(intuition)เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A
Theory of Meaningful Verbal Learning) ของเดวิด
ออซูเบล(David Ausubel) ออซูเบลเชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน
หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน(Ausubel,1963:77-97) การนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์หรือกรอบความคิด (Advance
Organizer) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด
การเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น
การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย
และความ สัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและแก้ปัญหาต่างๆ
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง มนุษย์ เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วย
ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี คือ ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt
Theory) ทฤษฎีสนาม(Field Theory) ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual
Development Theory) และทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A
Theory of Meaningful Verbal Learning)
➤ 7.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) หมายถึง
นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า
มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน
หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ
มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ
ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏี คือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น
และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน
และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง
ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้
มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง Maslow’s
Hierachy of Needs Abraham Maslow อธิบายว่าความต้องการที่ทำให้มนุษย์เกิดแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมว่าแบ่งเป็น
2 ระดับ ได้แก่ความต้องการที่จำเป็นในการที่จะมีชีวิตอยู่ได้
ซึ่งต้องได้รับการตอบสนองก่อนจึงจะมีแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมเพื่อความต้องการอื่น
ความต้องการระดับนี้ ถือเป็นความต้องการระดับต่ำ ประกอบด้วย
1. ความต้องการทางกายได้แก่ ต้องการอาหาร น้ำ อากาศ ฯลฯ
2. ความต้องการความปลอดภัย
3. ความต้องการการยอมรับเป็นสมาชิกของกลุ่มและความรัก
4. ความต้องการความนิยมนับถือ เกียรติยศชื่อเสียง
อีกระดับหนึ่งเป็นความต้องการระดับสูง
คือความต้องการที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญแห่งตน ประกอบด้วย
5. ความต้องการรู้และเข้าใจ
6. ความต้องการสุนทรีย์
(ซาบซึ้งในศิลปะและดนตรี)
7.
ความต้องการที่จะทำในสิ่งที่ตนมีศักยภาพอย่างเต็มที่ (ต้องการทำสิ่งต่าง ๆ
ให้เต็มศักยภาพของตน)
มนุษย์ต้องได้รับการตอบสนองในแต่ละขั้นตั้งแต่ขั้นแรกก่อนจะมีแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในขั้นต่อไป
เช่น อิ่มก่อนจึงจะแสวงหาความปลอดภัย แล้วจึงทำพฤติกรรมเพื่อให้ได้รับความรัก
เมื่อได้แล้วจึงแสวงหาเกียรติยศชื่อเสียงต่อไป เมื่อความต้องการในระดับต่ำนี้ลดลง
(ได้รับแล้ว) แรงจูงใจในการทำพฤติกรรมเพื่อสนองความต้องการระดับสูงจึงเกิดขึ้น
คือแสวงหาความรู้ความเข้าใจ สุนทรีย์ทางศิลปและดนตรี แล้วจึงทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพัฒนาตนเองให้เต็มความศักยภาพที่มีอยู่
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์
(Maslow) แนวความคิดที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์
โดยที่ความต้องการจะเป็น
ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น
ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ
อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน ในเรื่องความต้องการ (Need) ของมนุษย์ ถ้าเรามีความเข้าใจเรื่องความต้องการของมนุษย์แล้ว
เราจะสามารถเข้าใจ พื้นฐานพฤติกรรมของมนุษย์ได้มากยิ่งขึ้น
ความต้องการของมนุษย์ตามแนวความคิดของมาสโลว์ (Maslow) มาสโลว์
ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ
ดังนี้ The five needs
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย
(Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ
มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs)คือความต้องการที่จะมีชีวิต
ที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม
(Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้
รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา
ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขั้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง
(Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์
ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้ มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ
เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้
การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง 100%แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป
-ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล 5 แนวคิด ได้แก่
1. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
1. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
2. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ
5. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ คือ การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ
5. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ คือ การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ
สรุป
ความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
➤ 8.การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง
❖ ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
หลักสูตรท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในท้องถิ่นนั้น
ๆ เนื้อหาองค์ความรู้จึงเกี่ยวกับท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี อาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
สิ่งเหล่านี้ควรได้รับการถ่ายทอดพัฒนาไปสู่ผู้เรียน
นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่นไว้ ดังนี้
กรมวิชาการ (2540:16) ให้ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่นว่า หมายถึง
มวลประสบการณ์ที่จัดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้
ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และคุณภาพการดำรงชีวิตโดยใช้ทรัพยากรท้องถิ่น
สอดคล้องกับหน่วยศึกษานิเทศก์กล่าวว่า
หลักสูตรท้องถิ่น
หมายถึง รายละเอียด เนื้อหาสาระ แผนการสอน สื่อการเรียนการสอน เอกสารความรู้
หนังสือเสริมประสบการณ์ที่จัดทำขึ้นให้สอดคล้องเฉพาะท้องถิ่น
ซึ่งมีความแตกต่างกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวของตนเอง ชีวิต
เศรษฐกิจ อาชีพ และสังคมอย่างลึกซึ้ง
กรมการศึกษานอกโรงเรียน (2545:26) ให้ความหมายว่า
หลักสูตรท้องถิ่นหมายถึงหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนตามหรือสร้างจากหลักสูตรแกนกลาง
ที่ปรับให้เข้ากับสภาพชีวิตจริงของผู้เรียน ท้องถิ่นต่าง ๆ
หรือสร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่มีผลกระทบต่อผู้เรียน
หลักสูตรท้องถิ่นจะสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ
สำลี ทองธิว (2545:32)
ให้ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น ว่า หมายถึง
หลักสูตรที่สนองตอบความต้องการและลักษณะเฉพาะของชุมชน มองที่ผลกระทบของหลักสูตรและระบบการศึกษาในสถานศึกษาที่มีต่อชุมชนและท้องถิ่น
มองชุมชนเป็นหลัก เป็นการสร้างแลพัฒนาหลักสูตรในระบบโรงเรียน
❖ ความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
หลักสูตรท้องถิ่น
เป็นหลักสูตรบูรณาการที่ผู้เรียนชุมชนและครูร่วมกันสร้างขึ้น
เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียน เรียนจากชีวิต เรียนแล้วเกิดการเรียนรู้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตอย่างมีคุณภาพและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอย่างมีความสุข
การเรียนการสอนจะสอนตามความต้องการของผู้เรียน โดยครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ
ผู้เรียนเป็นค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น หลักสูตรท้องถิ่นจึงมีความสำคัญ
ดังต่อไปนี้ (กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. 2543:5)
1. เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนเฉพาะเนื้อหาสาระของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนตามสภาพปัญหาที่เป็นจริง
2. ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้มีความหมายต่อผู้เรียน
เพราะผู้เรียนสามารถนำความรู้
ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
3. ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้
เพื่อที่จะมาใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของตนเองในวันข้างหน้า
รวมทั้งวิธีวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตนเอง
4. ชุมชนและภูมิปัญญาในชุมชน มีโอกาสมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น