ค้นคว้าเพิ่มเติมจากบทที่
1
การศึกษา
การพัฒนามนุษย์ กับหลักสูตร
1.การศึกษา หมายถึง
● ยัง
ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques
Rousseau) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษา
คือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษา
คือ การนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์
● โจฮัน
เฟรดเดอริค แฮร์บาร์ต (John Friedich Herbart) ให้ความหมายของการศึกษาว่า
การศึกษาคือ การทำพลเมืองให้มีความประพฤติดี และมีอุปนิสัยที่ดีงาม
● เฟรด ดเอริค เฟรอเบล
(Friedrich Froebel) การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาตนเอง
● จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย คือ
1. การศึกษาคือชีวิต
ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต
2. การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
3. การศึกษาคือกระบวนการทางสังคม
4. การศึกษาคือการสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต
● คาร์เตอร์
วี. กู๊ด (Carter V.
Good) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้
3 ความหมาย คือ
1. การศึกษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ
ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า
และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
2. การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคม ที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้ ความสามารถจาก
สิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น
3. การศึกษาหมายถึงการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ
ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา
● ม.ล.ปิ่น มาลากุล การศึกษาเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคล
● ดร. สาโช บัวศรี การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้
และพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
สรุป การศึกษา เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง
สรุป การศึกษา เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง
2.การพัฒนา หมายถึง
การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่มีการกระทำให้เกิดขึ้น
หรือมีการวางแผนกำหนดทิศทางไว้ล่วงหน้า โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ถ้าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดีก็ไม่เรียกว่าการพัฒนา
ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน
การพัฒนา หมายถึง การทำให้เจริญ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Development”
แปลว่า การเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย โดยผ่านลำดับขั้นต่างๆ
ไปสู่ลำดับที่สามารถขยายตัวขึ้น เติบโตขึ้น
มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นและเหมาะสมไปกว่าเดิม
โดยสรุป การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเจริญก้าวหน้า
3.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง
มนุษย์ คือ
สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง ทรัพยากร หมายถึง สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์
ส่วนพัฒนา หมายถึง ทำให้เจริญ (พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525) จากความหมายของศัพท์ดังกล่าว
สรุปได้ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือการทำให้มนุษย์เจริญ
มีศักยภาพมากขึ้นจนกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าในสังคมและในประเทศ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้ บุคลากรเพิ่มความรู้ และทักษะ มีพฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้ บุคลากรเพิ่มความรู้ และทักษะ มีพฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.การพัฒนามนุษย์ หมายถึง
การพัฒนามนุษย์โดยมองคนในฐานะเป็นมนุษย์
มีความหมายว่า มนุษย์มีความเป็นมนุษย์ของเขาเอง ชีวิตมนุษย์นั้นมีจุดหมาย
จุดหมายของชีวิตคือ ความสุข อิสรภาพ ความดีความงามของชีวิต
ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล
เราต้องให้ความสำคัญว่าเราจะพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างไร
พร้อมกับที่อีกด้านหนึ่ง เขาก็จะเป็นทรัพยากร เป็นทุน
เป็นปัจจัยที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
5.ความหมายพัฒนามนุษย์ กับ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต่อการศึกษา
การพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์
กับการพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์นี้มีความหมายต่อการศึกษา
เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนาคน ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง
และในฐานะที่เป็นทรัพยากร ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวมนุษย์นั้น
เป็นการศึกษาที่เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การศึกษาระยะยาว)
ส่วนการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความหมายขึ้นกับกาลเทศะ หรือยุค
สมัยมากกว่า คือเป็นการศึกษาที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของยุคสมัยนั้นๆ
(การศึกษาระยะสั้น) เช่น เพื่อสนองความต้องการของสังคมในด้านกำลังคนในสาขางานและกิจกรรมต่างๆ
ฉะนั้นเราจึงควรจัดการศึกษา ๒ อย่างนี้ให้สัมพันธ์กัน เพราะถ้าเราสามารถพัฒนาทั้ง
๒ ส่วนนี้ให้สัมพันธ์กันจนเกิดดุลยภาพขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อชีวิตและสังคมมาก
ในที่นี้จะขอบรรยายถึงการศึกษากับการพัฒนามนุษย์
ในความหมายที่เป็นส่วนต่อเชื่อมจากการศึกษาที่เป็นการพัฒนามนุษย์เอง
มาสู่การพัฒนามนุษย์ในฐานะเป็นทรัพยากร ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะหน้า คือ
จะไม่ลงสู่เรื่องเฉพาะเกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนในด้านต่างๆ แต่จะเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพคน
สำหรับแก้ปัญหาที่เป็นจุดเด่นของยุคสมัย
6.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่2)พ.ศ.2543 และ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่3) พ.ศ.2553
7.การออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรอาศัยแนวคิดจากคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์ คือ
การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ (Tyler,
1969)
การออกแบบหลักสูตร คือ
การตัดสินใจเกี่ยวกับรูปร่างหรือการจัดเค้าโครงในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของหลักสูตร
อันจะนำไปสู่การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระ
ช่วยให้ครูเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมซึ่งจะเกี่ยวข้องกับภาระงาน 4 เรื่อง คือ จุดประสงค์ เนื้อหาสาระ
ประสบการณ์การเรียนรู้การสอน และการประเมิน การออกแบบหลักสูตรที่แตกต่างกันให้คุณภาพที่หลากหลายทั้งความรู้และประสบการณ์
การออกแบบหลักสูตรต้องพิจารณาเรื่องเศรษฐกิจเป็นอันดับแรกและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการจัดการสอน
การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระและงานที่มอบหมาย เรื่องของเวลาและการจัดสรรทรัพยากร
จะต้องตอบให้ได้ว่าผู้เรียนจะเรียนอะไร จะจัดโครงสร้างที่เรียนอย่างไร
หลักสูตรจะแสดงในรูปแบบใดและจะจัดโครงสร้างอย่างไร
ผู้ออกแบบหลักสูตรต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
หลักสูตรโดยทั่วไปถูกออกแบบตามสาขาวิชา (Discipline)เช่น วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์
หรือออกแบบตามขอบข่ายเนื้อหาสาระ (Field) เช่น
ศิลปะ หน้าที่พลเมือง สังคมศึกษา หรือออกแบบเป็นหน่วย (Unit) เช่น
หน่วยดนตรีแจ๊ส หน่วยสื่อสารมวลชน
หรือออกแบบตามศูนย์กลางการจัดระเบียบ (Organizing Centers) เช่น กระบวนการ โครงการ ภาระงาน หรือออกแบบตามการติดตามความสนใจ (Personal
Persuits) เช่น ชมรมแอร์โรบิก ชมรมประกอบอาหาร
ออร์นสไตน์และฮันกิน (Ornstein and Hunkins, 1998) ได้สรุปการจัดกลุ่มแนวคิดการออกแบบหลักสูตรไว้ 3 กลุ่ม ได้แก่
1. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา (Subject-centered
Design) ซึ่งอาศัยแนวคิดปรัชญา
การศึกษาที่สำคัญ คือสารัตถะนิยมและนิรัตรนิยมเป็นหลัก ได้แก่
หลักสูตรแบบรายวิชา (Subject Design)หลักสูตรแบบสาขาวิชา(Discipline
Design) หลักสูตรแบบหมวดวิชา (Broad Fields
Design) หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (Correlation
Design) และ หลักสูตรเน้นกระบวนการ (Process
Design)
2. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered
Design) เป็นหลักสูตรที่มอง
ประโยชน์ของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ได้แก่ หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-centered
Design) หลักสูตรเน้นประสบการณ์ (Experience-centered
Design) หลักสูตรแบบจิตนิยม (Romantic/
Radical Design) และ หลักสูตรมนุษยนิยม (Humanistic
Design)
3. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ(Problem-centered
Design) เป็นหลักสูตร
ที่มุ่งเน้นภาระหน้าที่ ชีวิตภายในสังคม สถานการณ์ในสังคม เน้นสภาพของสังคม ปัญหาสังคมเป็นหลัก ได้แก่
หลักสูตรเน้นสถานการณ์ของชีวิต (Life-situation Design) หลักสูตรแกนกลาง(Core Design) และหลักสูตรเน้นปัญหาและปฏิรูปสังคม (Social
Problems and Reconstructionist Design)
การออกแบบหลักสูตรตามแนวคิดของปริ้นส์ ลาลวานี(Princess
Lalwani, 2012)
1. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ(Subject-centered
Curriculum Design)
มุ่งเน้นเนื้อหาสาระเป็นฐาน
ให้ความสำคัญกับการจัดการในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการ
กลยุทธ์และทักษะชีวิต เช่น การแก้ปัญหา การตัดสินใจหรือทีมงาน
2. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(Learner-centered
Curriculum Design) มี
สาระสำคัญอยู่ที่ความคาดหวังเกี่ยวกับผู้เรียนที่จะได้สำรวจความต้องการในชีวิตของตนเอง
ครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ผู้เรียนจะไม่ถูกกำหนดให้เป็นผู้กระทำ
แต่จะได้รับการสนับสนุนให้เรียนรู้โดยการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้สอนและสิ่งแวดล้อม
การให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้เรียน ได้เรียนรู้แบบเปิดและเป็นอิสระ
โดยเลือกกิจกรรมจากครูจัดให้หลากหลาย
3.การออกแบบหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน (Learner-centered
Curriculum Humanistic Design) การเรียนรู้ในอุดมคติของของมนุษย์เกี่ยวข้องกับความคิด
ความรู้สึกและการกระทำ แนวคิดในการพัฒนาตนเองในทางบวก (Positive
self-concept) และทักษะระหว่างบุคคล (Interpersonal
skills)
4. การออกแบบหลักสูตรแบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-centered
Curriculum Design) เป็น
การสนับสนุนชีวิตจริงของผู้เรียน เพราะต้องเสาะแสวงหาความรู้และแก้ปัญหา
ปัญหาต่าง ๆเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในชีวิตจริง
โดยการฝึกการแก้ปัญหาในโรงเรียนด้วยการเลือกประเด็นปัญหาในเชิงปรัชญาหรือเชิงจริยธรรมในแต่ละท้องถิ่น
5. การออกแบบหลักสูตรตามกระบวนการการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum
Development
Models Design) มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้
หลักสูตรแบบนี้ให้ความสำคัญกับจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เป็นการออกแบบโดยกลุ่มนักวางแผนการศึกษา
มีการตัดสินใจที่มาจากฝ่ายการเมืองและกลุ่มตัวแทนสังคมต่าง ๆ
แนวคิดการออกแบบหลักสูตรมีดังนี้
5.1 การออกแบบหลักสูตรกลุ่ม (Deductive
Models) ให้ความสำคัญกับการกำหนดจุดมุ่งหมายของ
การศึกษาและการระบุวัตถุประสงค์เฉพาะที่แสดงความสำเร็จ
ไทเลอร์กล่าวว่าการออกแบบหลักสูตรด้วยธรรมชาติและโครงสร้างความรู้ต้องมุ่งตอบสนองความต้องการจำเป็นของผู้เรียน
5.2 การออกแบบหลักสูตรกลุ่ม (Inductive
Models)เป็นการออกแบบตามแนวคิดของทาบาซึ่งเชื่อว่าผู้สอนจะต้องเป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการด้วยการสร้างหน่วยการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนในโรงเรียนด้วยตนเอง
8.คุรุสภา หมายถึง
(อังกฤษ: The Teachers’ Council of Thailand) เป็นสภาในกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับ ดูแล การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา
ซึ่งเป็นการยกระดับวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง
โดยมีสำนักเลขานุการคือ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา